วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความหมาย และชนิดของสัตว์ป่าสงวน

สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าหายาก 15 ชนิด ได้แก่ กระซู่ เลียงผา สมัน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร กรูปี นกกระเรียน นกแต้วแล้วท้องดำ ควายป่า แมวลายหินอ่อน กวางผา เก้งหม้อ สมเสร็จ แรด พะยูน ละองหรือละมั่ง

กระซู่
ชื่อสามัญ : Sumatran Rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicermocerus sumatraensis
ชื่ออื่น : แรดสุมาตรา
เป็นแรดพันธุ์เล็กที่สุดในบรรดาแรด ชนิดของโลก มี นอ ความสูงที่ระดับไหล่ 1.0 - 1.4 เมตร น้ำหนัก 900-1,000 กก. มีขนปกคลุมทั้งตัว ปีนเขาเก่ง มีประสาทในการรับกลิ่นดีมาก เมื่อพบสิ่งกีดขวางจะไม่ข้าม แต่มักใช้หัวดันให้พ้นทางเดิน ชอบกินกิ่งไม้ ใบไม้และผลไม้ ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 7-8 เดือน ปัจจุบันหายากมาก คาดว่าจะพบได้ในบริเวณป่าทึบตามแนวพรมแดนไทย-พม่า และชายแดนไทย-มาเลเซีย รายงานล่าสุดในปี พ.ศ.2539 พบรอยเท้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ยังมีกระจัดกระจายตามป่าต่าง ๆ แห่งละตัวสองตัว เช่น แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ฮาลา-บาลา จังหวัดนราธิวาส เขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี


เลียงผา
ชื่อสามัญ : Serow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capricornis sumatraensis
เป็นสัตว์กีบคู่ มีเขาจำพวกแพะ ความสูงที่ระดับไหล่ 85-94 ซ.ม. น้ำหนักประมาณ 85-140 กก. อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาหรือถ้ำ สามารถเคลื่อนที่ในที่สูงชันอย่างว่องไวและปราดเปรียวมาก สามารถว่ายน้ำข้ามระหว่างเกาะกับแผ่นดินได้ มีอวัยวะรับสัมผัส ทั้งตา หู และจมูกดี กินพืชที่ขึ้นอยู่ตามที่สูง ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนาน 7-8 เดือน ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเนื่องจาก ถูกล่าเพื่อเอาเขาและทำน้ำมันเลียงผา
สมัน
ชื่อสามัญ : Schomburgk’s Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cervus schomburgki
ชื่ออื่น : เนื้อสมัน
เป็นกวางขนาดกลาง ความสูงระดับไหล่ เมตร ได้ชื่อว่ามีเขาสวยที่สุด การแตกแขนงของเขาเมื่อโตเต็มวัยจะมีลักษณะคล้ายสุ่มที่หงายขึ้น จึงเรียกว่า "กวางเขาสุ่ม" ชอบกินยอดหญ้าอ่อน ผลไม้ และใบไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ อาศัยอยู่เฉพาะที่ราบต่ำในภาคกลางของประเทศไทยเท่านั้น   โดยเฉพาะบริเวณรอบ ๆ กรุงเทพฯ ปทุมธานี อยุธยา สมุทรปราการ สมันได้สูญพันธุ์ไปโดยสมบูรณ์เมื่อราวปี2475 แม้แต่สมันตัวสุดท้ายของโลกก็ตายด้วยมือของมนุษย์


นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ชื่อสามัญ : White-eyed River-Martin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudochelidon sirintarae
ชื่ออื่น : นกเจ้าฟ้า
เป็นนกนางแอ่นชนิดหนึ่ง ขนาดวัดจากปลายจงอยปากถึงโคนหางยาวประมาณ 15 ซม. พบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2511 บริเวณบึงบรเพ็ด จ.นครสวรรค์ เพียงแห่งเดียวในโลกและไม่พบที่อื่นอีกเลย   เป็นนกที่อพยพมาในฤดูหนาว ส่วนในฤดูอื่นเชื่อว่าจะอยู่บริเวณต้นแม่น้ำปิง ชอบเกาะนอนในพงหญ้า นอนอยู่รวมกับฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ตามใบอ้อ และใบสนุ่น โฉบจับแมลงเป็นอาหาร ปัจจุบันเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว


กูปรี
ชื่อสามัญ : Kouprey
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bos sauveii
ชื่ออื่น : วัวเขาเกลียว(ลาว) โคไพร
เป็นสัตว์ป่าตระกูลเดียวกับกระทิงและวัวแดง ความสูงที่ระดับไหล่ 1.7-1.9 เมตร น้ำหนักประมาณ 700-900 กก. อยู่รวมกันเป็นฝูง 2-20 ตัว มีลักษณะพิเศษคือ ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะมีปลายเขาที่แตกเป็นพู่ เนื่องจากมันชอบใช้เขาแทงดินเพื่องัดหาอาหารกิน ส่วนตัวเมียมีเขาลักษณะเป็นวงเกลียว ชอบกินหญ้า ใบไม้ ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนาน 9-10 เดือน พบในไทย ลาว เขมร และเวียดนามเท่านั้น ข้อมูลเกี่ยวกับกูปรีมีน้อยและยังถูกล่าอยู่เสมอเพราะเขามีราคาสูงมาก เป็นที่ต้องการของนักสะสม มีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ได้


นกกระเรียน
ชื่อสามัญ : Sarus Crane
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grus antigone sharpii
ชื่ออื่น : _
อยู่ในตระกูลนกบินได้ขนาดใหญ่ที่สุด สูงประมาณ 150 ซม. พบตามหนอง บึง และท้องทุ่ง หากินเป็นคู่และกลุ่มครอบครัว จับคู่แบบผัวเดียวเมียเดียว กินแมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ำ เมล็ดพืช และต้นอ่อนของพืชน้ำ ปัจจุบันไม่พบในประเทศไทยเพราะถูกล่า และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย แต่ยังพบในประเทศลาวและเขมร


นกแต้วแล้วท้องดำ
ชื่อสามัญ : Gurney's Pitta
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pitta gurney
ชื่ออื่น : _
ขนาดลำตัววัดจากจงอยปากถึงโคนหางยาว 21 ซม. อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบที่ราบต่ำ ชอบทำรังบนกอระกำ และกอหวาย ซึ่งมีหนามแหลม ชอบกินไส้เดือน ส่งเสียกร้อง "วัก วัก" เพื่อประกาศอาณาเขตและร้องหาคู่ ส่งเสียงร้อง "แต้ว แต้ว" ขณะตกใจ ฤดูผสมพันธุ์เริ่มเดือนพฤษภาคม ปัจจุบันพบแห่งเดียวในโลก ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม (เขานอจู้จี้) จ.กระบี่ คาดว่าเหลืออยู่ไม่เกิน 100 ตัว และมีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์ในไม่ช้าเนื่องจาก ถิ่นที่อยู่กำลังถูกบุกรุกอย่างรุนแรง


ควายป่า
ชื่อสามัญ : Wild Water Buffalo
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bubalus bubalis
ชื่ออื่น : มหิงสา
เป็นบรรพบุรุษของควายบ้าน ขนาดของลำตัวใหญ่กว่าควายบ้าน รอบคอด้านหน้ามีรอยสีขาวเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวหงายอยู่ เรียกว่า "รอยเชียดคอ" ขาทั้งสี่มีสีขาวเหมือนใส่ถุงเท้า แต่ในธรรมชาติมักไม่เห็นถุงเท้านี้ เพราะควายป่าชอบแช่และลุยปลักโคลนจนถุงเท้าเปื้อนไปหมด ความสูงที่ระดับไหล่ 1.6-1.9 เมตร น้ำหนักถึง 800-1,200 กก. แต่ปราดเปรียวมาก ชอบนอนแช่ปลักให้ดินโคลนพอกลำตัวเพื่อป้องกันแมลงรบกวน มีนิสัยชอบอยู่เป็นฝูง เมื่อบาดเจ็บจะดุร้ายมาก กินใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 10 เดือน ปัจจุบันพบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เท่านั้น


แมวลายหินอ่อน
ชื่อสามัญ : Marbled Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pardofelis marmorata
ชื่ออื่น : _
เป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 4-5 กก. อยู่ในป่าดงดิบและป่าดิบชื้น ชอบอยู่บนต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ แมลง งู นก หนู และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ปัจจุบันหายากมาก มีรายงานพบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติทับลาน


กวางผา
ชื่อสามัญ : Goral
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naemorhedus griseus
ชื่ออื่น : ม้าเทวดา
มีลักษณะคล้ายแพะ ความสูงที่ระดับไหล่ 50-70 ซม. น้ำหนักประมาณ 20-32 กก. มีขาแข็งแรงสามารถกระโดดตามชะง่อนผาได้อย่างว่องไวและแม่นยำ พบตามยอดเขาสูงชัน สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี อาหารได้แก่ พืชตามสันเขาและหน้าผาหิน ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนาน 6-8 เดือน อายุประมาณ 8-10 ปี ปัจจุบันเหลืออยู่จำนวนน้อย พบบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จ.ตาก


เก้งหม้อ
ชื่อสามัญ : Fea’s Barking Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feai
ชื่ออื่น : เก้งดำกวางจุก
เป็นเก้งที่มีสีคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ทางด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน บริเวณโคนเขามีขนยาวแน่นและฟูเป็นกระจุก ชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ๆ ในป่าดงดิบตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น กินใบไม้ หญ้าและผลไม้ ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนาน เดือน พบบริเวณชายแดนไทย-พม่า และในภาคใต้ของไทย เป็นสัตว์ในตระกูลกวางที่หายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก


สมเสร็จ
ชื่อสามัญ : Malayan Tapir
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tapirus indicus
ชื่ออื่น : ผสมเสร็จ
เป็นสัตว์หากินกลางคืน น้ำหนักประมาณ 250-300 กก. มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก มีจมูกเหมือนงวงช้าง รูปร่างเหมือนหมู เท้าเหมือนแรด จึงเรียกว่าผสมเสร็จหรือสมเสร็จ มักหากินตามที่รกทึบ ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนาน 13 เดือน พบบริเวณป่าชายแดนไทย-พม่า ตลอดลงไปจนถึงภาคใต้ของไทย


แรด
ชื่อสามัญ : Javan Rhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinoceros sondaicus
ชื่ออื่น : แรดชวา
มีนอเดียว ความสูงที่ระดับไหล่ 1.70-1.75 เมตร น้ำหนัก 1,500-2,000 กก. ชอบนอนในปลัก โคลนตม หนองน้ำ เพื่อไม่ให้ถูกแมลงรบกวน มีสายตาไม่ค่อยดีนัก แต่ประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นดีมาก ชอบกินยอดไม้ ใบไม้และผลไม้ ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนาน 16 เดือน อาศัยอยู่ในป่าทึบ โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ครั้งหนึ่งเคยมีพบในบริเวณป่าชายแดนไทย พม่า ลงไปทางใต้ แต่ไม่มีใครพบแรดในธรรมชาติในเมืองไทยเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ประชากรแรดในประเทศอื่น ๆ ก็อยู่ในภาวะคล้ายคลึงกัน ปัจจุบันยังมีเหลือแรดอยู่ในธรรมชาติเพียง 20-30 ตัวเท่านั้น โดยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในประเทศเวียดนาม


พะยูน
ชื่อสามัญ : Dugong
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dugong dugon
ชื่ออื่น : หมูน้ำปลาพะยูน
สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม น้ำหนักประมาณ 300 กก. ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้าทะเลตามบริเวณน้ำตื้นใกล้ชายฝั่ง ออกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องนาน ปี ลดจำนวนลงมากเพราะติดอวน และหญ้าทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญถูกทำลาย ปัจจุบันพบอยู่บริเวณเกาะลิบงและหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ประมาณ 40-50 ตัว


ละองละมั่ง
ชื่อสามัญ : Eld's Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cervus eldi
ชื่ออื่น : _
ละอง เป็นชื่อเรียกตัวผู้ ส่วนละมั่งเป็นชื่อเรียกตัวเมีย ความสูงที่ระดับไหล่ 1.2 - 1.3 เมตร หนักประมาณ 95-150 กก. ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน กินใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้เป็นอาหาร ตกลูกครั้งละ ตัว ตั้งท้องประมาณ 7-8 เดือน มีสองชนิดย่อย คือ C. e. thamin และ C. e. siamensis ปัจจุบันละองและละมั่งได้สูญ พันธุ์ไปจากธรรมชาติของไทยไปแล้ว แต่คาดว่ายังมีเหลืออยู่ตามบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา และบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีชายแดนไทย-พม่า

Credit : http://www.verdantplanet.org/preserve/preserv.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น